E-Signature กับ Digital Signature เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร?

E-Signature กับ Digital Signature

ปัจจุบัน การทำธุรกรรม หรือการอนุมัติเอกสารออนไลน์ เป็นเรื่องง่ายมาก เพราะแค่เซ็นครั้งเดียว ก็สามารถยืนยันได้แล้ว ว่าใครเป็นคนเซ็น แต่รู้หรือไม่ E-Signature กับ Digital Signature นั้นมีความแตกต่างกันอยู่ แม้ว่าสองแบบนี้ คือการเซ็นลายเซ็นบนเอกสาร หรือ Platform อะไรสักอย่างเหมือนกัน แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเหมือน ที่ไม่เหมือนกันเลยนะ

[/section]

E-Signature

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบทั่วไป ย่อมาจาก Electronic Signature เวลาที่เซ็นชื่อลงในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ลงไปแล้ว ก็จะใช้ตัวอักษร หรือตัวเลขเป็นหลักฐานมายืนยันตัวตน ไม่ว่าจะเป็น User Name Password ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือแม้แต่ปุ่ม “ยอมรับ” หรือ Submit ก็ถือว่าเป็นหลักฐานยืนยันตัวตน ชองเจ้าของลายเซ็นจริง ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของการทำธุรกรรมด้วย

Digital Signature

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน แต่อันนี้ “มีความปลอดภัย และเชื่อถือได้ มากกว่า E- Signatureแบบทั่วไป” โดยจะยืนยันตัวตนผ่านการเซ็นชื่อเท่านั้น หากมีคนมาปลอมแปลงลายเซ็น เจ้าของลายเซ็นจะทราบทันทีว่าถูกปลอมแปลง เพราะใน Digital-Signatureจะมีการเข้ารหัส (Encrypt) หรือ License ใบอนุญาตมายืนยัน สามารถตรวจสอบได้ ว่าเป็นเซ็นเอกสารใด เมื่อไรบ้าง ไว้ที่ตัวไฟล์เอกสารนั่นเอง

E-Signature กับ Digital Signature
มีข้อกฏหมายกำหนดไว้ดังนี้

E-Signature จะเข้าองค์ประกอบตาม กฏหมายมาตรา 9 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ บอกว่า ต้องมี 3 อย่างนี้ 

  1. รู้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ เป็นของใคร 
  2. เจ้าของลายมือชื่อ ต้องบอกเจตนาในข้อความที่ลงนาม 
  3. ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ 

E-Signature เหมาะกับการเซ็นเอกสารทั่วไป อย่างการพิมพ์ลงท้ายในอีเมล หรือเป็นไฟล์ลายเซ็น ที่สแกนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ จะไม่มี License มาตรวจจับ หากมีการปลอมแปลง แต่จะใช้ตัวอักษรหรือตัวเลข มายืนยันตัวตนแทน 

Digital Signature เป็นรูปแบบหนึ่งของ E-Signatureที่มีความปลอดภัย เปรียบเสมือนลายนิ้วมือ เหมาะกับเอกสารสำคัญ หรือเป็นเอกสารลับขององค์กร ที่มีความเสี่ยงถูกปลอมแปลง โดย Digital Signatureจะมีการแบ่งได้อีกสองลักษณะ ที่มีผลในทางกฎหมาย

  1. ลักษณะตามกฏหมาย มาตรา 26 ซึ่งมีเงื่อนไขการทำธุรกรรม โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานการเข้ารหัส Public Key Infrastructure (PKI)
  2. ลักษณะตามกฏหมาย มาตรา 28 ซึ่งมีเงื่อนไขการทำธุรกรรม ตามกฏหมาย มาตรา 26 โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานการเข้ารหัส Public Key Infrastructure (PKI) และเงื่อนไขที่ต้องมีใบรับรองจากผู้ให้บริการกำกับมาด้วย (CA)

ถ้าคุณกำลังมองหาระบบ เซ็นเอกสารออนไลน์

ไม่ว่าจะเอกสารไหนๆ ก็เซ็นได้สะดวกสบายปลอดภัย เพราะที่ SO NEXT เรามี Flow ระบบจัดการเอกสารออนไลน์ ที่ทำได้มากกว่าการจัดเก็บเอกสาร ตัวระบบ รองรับการเสนอส่งอนุมัติงานต่างๆ ด้วยลายเซ็นแบบ Digital signatureตราประทับหรือลายเซ็น แบบที่มีการเข้ารหัส

และที่มากไปกว่านั้น FLOW ยังสามารถกำหนด Workflow การอนุมัติแบบลำดับขั้นผู้เซ็นได้อีกด้วย ใครเซ็นก่อน เซ็นหลัง ก็กำหนดได้ง่ายๆ เพียงแค่การจับวาง หรือจะสร้างแบบฟอร์มต่างๆ ก็ทำได้ง่ายๆ ตอบโจทย์ออฟฟิศยุคใหม่ ทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา ภายในโปรแกรมเดียว เอกสารเยอะแค่ไหน ก็ไม่หวั่น เพราะเราจัดการข้อมูลจำนวนมากได้ ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าใช้บริการ FLOW แล้วข้อมูลและลายเซ็นจะปลอดภัย 100% อย่างแน่นอน ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก